Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 6 วิธีเลือกซื้อมือถือมือสองให้ปลอดภัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ 6 วิธีเลือกซื้อมือถือมือสองให้ปลอดภัย แสดงบทความทั้งหมด

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

6 วิธีเลือกซื้อมือถือมือสองให้ปลอดภัย


6 วิธีเลือกซื้อมือถือมือสองให้ปลอดภัย
6 วิธีเลือกซื้อมือถือมือสองให้ปลอดภัย
บทความน่ารู้ : เรื่อง6 วิธีเลือกซื้อมือถือมือสองให้ปลอดภัย
ที่นี่คือศูนย์รวมบทความที่น่าสนใจและให้ความรู้จากทุกมุมโลก เพื่อเป็นแหล่งความรู้สำหรับคนไทยทุกคน

เดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถือนั้นออกมาเดือนละไม่ต่ำกว่า 10 รุ่น นี่ยังไม่นับบรรดาเฮ้าส์แบรนด์น้องใหม่ที่ทยอยเปิดตัวรุ่นนั้นรุ่นนี้อีก หลายต่อหลายแบรนด์ ดังนั้นการซื้อโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ แล้วขายรุ่นเก่าทิ้งคงจะเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้ แต่การเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือมือสองนั้นก็ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกอะไร เพียงแต่จะซื้อมือถือมือสองอย่างไรให้ปลอดภัยนั้น เป็นเรื่องที่เราจะต้องใส่ใจกันมากทีเดียว เพราะปัจจุบันตลาดโทรศัพท์มือถือมือสองนั้น บางเครื่องไม่ได้ถูกซื้อขายมาอย่างถูกต้อง บางเครื่องอาจจะถูกลักทรัพย์ หรือถูกโจรกรรมมา หากเราซื้อเครื่องเหล่านั้นอาจจะถูกดำเนินคดีข้อหารับซื้อของโจรก็เป็นได้ มาดูกันเลยดีกว่าว่าเราจะหลีกเลี่ยง หรือลดความเสี่ยงเหล่านั้นในการซื้อมือถือมือสองนั้นอย่างไร

1. อุปกรณ์ กล่อง เลขอีมี่ตรง

แน่นอนว่าถ้าเป็นเครื่องที่มามาจากเจ้าของคนเก่าจริงต้องมีอุปกรณ์ครบ ทั้งสายชาร์จ สายดาต้าลิงค์ หรือชุดหูฟัง ไม่มีโจรหน้าไหนขโมยโทรศัพท์มือถือ พร้อมอุปกรณ์ครบยกทั้งกล่องแน่นอน และการตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งคือการตรวจสอบเลขอีมี่ (IMEI) หรือหมายเลขประจำเครื่องนั้นๆ ตรวจสอบโดยการกดปุ่ม *#06# ซึ่งหมายเลขจะต้องตรงกับกล่องทุกหมายเลข แค่นี้ก็อุ่นใจได้อีกเปราะแล้ว แต่ถ้าหากมีแต่เครื่อง ไม่มีอุปกรณ์แม้กระทั่งสายชาร์จก็เตรียมใจไว้ได้เลยว่าเป็นของที่ได้มาโดยมิ ชอบแน่นอน

2. ไม่ซื้อของที่มีราคาถูกจนน่าตกใจ

หากว่ามีชายลึกลับเดินเข้ามาเสนอขายโทรศัพท์มือถือใน ราคาถูก ถูกเสียจนน่าตกใจ อย่าพึ่งปล่อยให้ตัวเองหน้ามืดตามัวรีบซื้อ เพราะเป็นเรื่องผิดปกติตั้งแต่เดินเข้ามาเสนอขายแล้วหากคุณรับซื้อแล้วเจ้า ของเก่ามาตามหาโทรศัพท์มือถือมาเจอที่คุณอาจจะโดนข้อหารับซื้อของโจรได้

3. อย่าโอนเงินก่อนเด็ดขาด

หากคุณใช้อินเตอร์เน็ตในการเลือกหาซื้อโทรศัพท์มือถือ มือสอง ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เพราะสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องออกไปเดินเลือกซื้อให้เมื่อย แถมยังไม่เปลืองค่ารถ ค่าน้ำมันอีกต่างหาก แต่คุณก็ยังมิวายจะถูกโกงด้วยเล่ห์อุบายของโจรที่ซ่อนอยู่อีกฝั่งของระบบออ นไลน์ สังเกตง่ายๆ ว่าจะถูกโกงหรือป่าวด้วยราคาที่ขายที่ถูกจนไม่น่าเชื่อ และจะลงเอยด้วยการโอนเงินก่อนเสมอ แต่หากต้องการซื้อมือสองในอินเตอร์เน็ตจริงๆ ควรตรวจสอบผู้ขายให้ถี่ถ้วน อาจจะค้นหาข้อมูลประวัติการซื้อขายว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งผู้ขายที่มีประวัติดีก็มีไม่น้อยเช่นกัน ดังนั้นการซื้อขายแบบนี้ควรหาข้อมูลให้มากๆ เพื่อไม่ให้ถูกหลอก และเพื่อป้องกันการถูกหลอกจริงๆ ให้นัดเจอตัว ยื่นหมูยื่นแมวกันเลยดีกว่า จะได้สบายใจทั้งสองฝ่าย

4. นัดเจอในสถานที่มีผู้คนพลุกพล่าน

แน่นอนว่าการนัดเจอเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยนอาจจะยังมี ความเสี่ยงอยู่บ้าง ดังนั้นหากนัดเจอในสถานที่เปลี่ยว ไม่มีผู้คนเดินผ่านไปผ่านมาก็อาจจะถูกทำร้ายร่างกายเพื่อชิงทรัพย์ได้เช่น กัน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะโดนฉกชิงวิ่งราวควรจะนัดเจอในสถานที่ที่มีผู้คนพลุก พล่าน อาจจะเป็นห้างสรรพสินค้า มีเก้าอี้นั่งให้ลองเล่นเครื่องจนเป็นที่น่าพอใจจึงตกลงจ่ายเงิน

5. ขอดูใบอนุญาตค้าของเก่า

ในกรณีที่คุณต้องเดินซื้อโทรศัพท์มือถือมือสอบตามร้านค้า หรือตามร้านตู้กระจกก็ควรจะตรวจสอบกับผู้ค้าว่ามีใบอนุญาตขายของเก่าหรือไม่ โดยปกติแล้วผู้ขายโทรศัพท์มือถือมือสองจะติดไว้ที่ด้านหลังให้เราสังเกตได้ ง่ายๆ ซึ่งก็จะเป็นการป้องกันการรับซื้อของโจรอีกชั้นหนึ่ง

6. ตรวจสอบตัวเครื่อง และอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

มาถึงขั้นตอนสุดท้ายที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสอง ดังนั้นควรตรวจสอบให้ถี่ถ้วนก่อนจ่ายเงิน การตรวจสอบหลักๆ ก็ดูสภาพรวมๆ ของตัวเครื่องเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ ตัวเครื่อง หรือบอดี้เป็นรอยแตกหักตรงไหนบ้าง หน้าจอมีจุดบอดหรือไม่ (Dead pixel) โทรออก รับสายเป็นอย่างไร ปุ่มกดหรือหน้าจอสัมผัสใช้งานได้ปกติดีหรือไม่ ตรวจสอบอุปกรณ์ว่าใช้งานได้หรือเปล่า ทั้งสมอลล์ทอล์ค สายชาร์จ และแบตเตอรี่ใช้งานได้ปกติ ไม่บวมจนดูเหมือนจะระเบิด ส่วนเรื่องราคาก็ต่อรองกันตามสบายเลยครับ อันนี้ขึ้นอยู่กับผู้ซื้อพอใจจะซื้อ และผู้ขาย พอใจจะขาย

อ่อ อย่าลืมตรวจสอบการรับประกันด้วย หากประกันศูนย์ยังเหลือก็ไม่ต้องกังวลมากนัก แต่หากหมดประกันแล้ว ผู้ขายจะรับประกันตัวเครื่อง 7 วัน หรือ 1 เดือนก็ตามแต่ตกลง เพราะหากเครื่องเกิดมีปัญหาขึ้นมาหลังจากจ่ายเงินไปแล้วก็ยังพอที่จะหาคนรับ ผิดชอบได้ สุดท้ายก็ขอให้มีความสุข สนุกกับการใช้โทรศัพท์เครื่องใหม่ ในสภาพมือสองก็แล้วกันครับ

ที่มาจาก : whatphone.net

รายการบล็อกของฉัน