กล่าวถึงกรณีหนังสือพิมพ์รายวันของสเปนรายงานว่า ผู้ปกครองนำเด็กอายุ 12 ปี เข้ารับการรักษาโรค "เสพติดโทรศัพท์มือถือ" ในโรงพยาบาลจิตเวชเป็นรายแรก เนื่องจากขาดมือถือไม่ได้ จนไม่เป็นอันเรียนหนังสือ ว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบพูดชอบคุย อยากสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อน จึงพบพฤติกรรมใช้โทรศัพท์เกินความจำเป็น บางคนเสียค่าโทรเดือนละ 10,000-20,000 บาท พ่อแม่ผู้ปกครองควรดูแลการใช้โทรศัพท์ของลูกด้วย เพราะมือถือสามารถเข้าถึงการดาวโหลดรูปภาพหรือเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมได้ นอกจากนี้ โทรศัพท์มือถือยังบ่มเพาะให้เกิดพฤติกรรม "โรคด่วนได้" คือ รออะไรไม่ได้ เพราะมือถือสามารถส่งข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสได้ภายในไม่กี่นาที และได้รับคำตอบกลับมารวดเร็ว ต่างกับสมัยก่อนที่ใช้การเขียนจดหมาย ต้องใช้เวลารอคอยการตอบความรวดเร็วของเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้คนรุ่นใหม่รอ คอยอะไรไม่เป็น อย่างไรก็ตาม ด้วยปัญหาการจราจร บางครอบครัว ต้องซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูกตั้งแต่ชั้นอนุบาล เพราะใช้ในการนัดหมายจุดที่พ่อแม่มารับ-ส่ง เนื่องจากไม่มีที่จอดรถรับ-ส่ง โฆษกกรม สุขภาพจิตกล่าวถึงสภาพสังคมไทยที่พ่อแม่ต้องมาทำงานที่อื่นและใช้โทรศัพท์ มือถือเพื่อพูดคุยกันว่า กรณีนี้เป็นสิ่งที่ดีในการสร้างสัมพันธ์พ่อแม่ลูก การได้ยินเสียงพ่อแม่หรือลูกทำให้ชื่นใจ หายคิดถึง ลดความเครียดจากความวิตกกังวลเป็นห่วงได้ แต่ขอให้พิจาณาที่ความเหมาะสมว่า ลูกรู้จักรับผิดชอบได้หรือไม่ ต้องไม่กระทบค่าใช้จ่าย การใช้เวลาว่าง สำหรับเด็กวัยอนุบาลคิดว่า ไม่สนใจเล่นมือถือ ขณะที่เด็กวัยรุ่นจะสนใจฟังชั่นก์ต่าง ๆ มากกว่าเด็กเล็ก นพ.ทวี ศิลป์ กล่าวด้วยว่า มีพ่อแม่ปรึกษาเรื่องลูกวัยรุ่นติดโทรศัพท์มานานแล้ว แต่จำนวนไม่มากโดยเป็นพฤติกรรมติดโทรศัพท์ในระดับมัธยมศึกษา อายุ 2-3 ขวบยังไม่พบ ทั้งนี้ มีผลการวิจัยในต่างประเทศ พบว่า เด็กวัยรุ่นกลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ใช้ พบว่ากลุ่มที่ใช้มือถือ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรมากกว่ากลุ่มไม่ใช้ ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่า มือถือทำให้เด็กและเยาวชนสร้างสัมพันธภาพต่อกันอย่างรวดเร็ว ใกล้ชิดกัน จนนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรได้
ข้อมูลจาก วิชาการ.คอม www.vcharkarn.com
เรียบเรียงข้อมูลใหม่ โดย Manman
ข้อมูลจาก วิชาการ.คอม www.vcharkarn.com
เรียบเรียงข้อมูลใหม่ โดย Manman